แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
น้ำตกสุขทาลัย (กือลอง)
น้ำตกสุขทาลัย ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้
(กือลอง) ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางถนนสายยะลา - เบตง ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร และมีทางแยกจากถนนใหญ่เข้าไปอีกประมาณ
๘ กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามและเป็นที่ตั้งของตำหนักสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี
ในโอกาสที่เด็จมาทรงปฏิบัติภาระกิจในจังหวัดยะลา และมีศาลาไว้สำหรับนำท่องเที่ยวได้พักผ่อนและรับประทานอาหาร
น้ำตกสุขทาลัย เป็นน้ำตกที่มีความร่มรื่นเป็นธรรมชาติ
มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นอยู่มากมาย มองดูครื้มเย็นสบาย เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบ
บรรยากาศเงียบๆ พักผ่อนและเล่นน้ำในแอ่งน้ำ
เบตง
เบตง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา มีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๔๔๑ ปัจจุบันมีการปกครอง ๔ ตำบล และ ๑ เทศบาลตำบล เป็นอำเภออยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย
ห่างจากกรุงเทพไปทางทิศใต้ โดยทางรถยนต์ประมาณ ๑.๕๐๖
กิโลเมตรห่างจากตัวจังหวัดยะลา ๑๔๐ กิโลเมตร เป็นเมืองชายแดน
ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต เป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญ ในปีหนึ่งๆ
จะชาวไทยและชาวมาเลเซียผ่านเข้าออกทางเบตงเป็นจำนวนมาก
เบตง เป็นภาษามลายู แปลว่า ไม้ไผ่ เนื่องจากเบตงมีลำคลอง มากมาย
สองฝั่งคลองจะมีต้นไม้ไผ่ขึ้นเรียงรายโดยทั่วไป เมืองเบตง
ตั้งอยู่บนเทือกเขาสันกาลาคีรีที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างไทย - มาเลเซีย พื้นที่ประกอบไปด้วยที่ราบสูงเนินเขา
ลุ่มน้ำ โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑,๙๐๐ ฟุต
สภาพป่าเป็นป่าไม้ดงดิบรับอิทธิพล ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้มีฝนตกชุกอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๖ อาศาเซลเชียส
ในเมืองเบตง นักท่องเที่ยวจะเห็นสิ่งที่แปลก คือ
ตู้ไปรษณีย์ ที่สูงที่สุดในโลกตั้งสง่าอยู่ที่สี่แยกหอนาฬิกา ซึ่งมีประวัติความเป็นมา
ที่น่าสนใจ เคยใช้เป็นหอกระจายข่าวทางราชการ และในช่วงเดือน
กันยายนถึงเดือนมีนาคมจะมีนกนางแอ่นอพยพมาจาก ไซบีเรียนับเป็น แสนๆ ตัวในยามค่ำคืนจะเกาะอยู่บนสายไฟฟ้าทั่วเมืองเบตง
นับว่าเป็นเมื่องเดียวในประเทศไทยที่มีนกนางแอ่นมาเยี่ยมเยียนมาก เป็นพิเศษ นอกจานี้ยังมีวัฒนธรรมผสมผสานของชาวไทยพุทธ
เชื้อสายจีน เชื้อสายมลายู และไทยพุทธ มีประเพณีต่างๆ ที่เป็นเฉพาะ
ของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น มีประเพณีแห่พระของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่สนุกสนานและตื่นเต้น
ความเด่นทางธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง คือ เส้นทางคมนาคมทางบกที่คดเคี้ยวสวยงามลัดเลาะตามแนวเขาเหนือเขื่อนบางลาง
ผ่านทะเลสาปน้อยกลางหุบเขาและป่าสลับซับซ้อนเชิญชวนให้หยุดชมทัศนียภาพที่สวยงาม นอกจากนี้เบตงยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกเช่น
บ่อน้ำร้อนที่มีความร้อนสูงถึง ๘๑ องศาเซลเซียส มีน้ำตกอินทรสร มีสระว่ายน้ำ
และสนามกีฬาในหุบเขาสวยงามน่าชมยิ่งนัก อาหารที่ชวนให้นักท่องเที่ยวบริโภค เช่น
ไก่เบตง ปลาจีน กบภูเขา เขาหยก เป็นต้น สำหรับที่พักผ่อนนอนหลับ
ก็มีโรงแรมใหญ่น้อย หลายแห่ง มีพนักงานคอยบริการอย่างเป็นกันเอง
เขื่อนบางลาง
โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลางเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแห่งแรกของ
ภาคใต้ ก่อสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้าน การป้องกันอุทกภัย การชลประทาน
การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง การพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ
การเมืองของประชาชน
ตัวเขื่อนบางลาง สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี ที่บ้านบางลาง
ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวเมืองยะลาไปทางทิศใต้ประมาณ ๕๘
กิโลเมตร โดยมีถนนแยกจากทางหลวงสายยะลา - เบตง ที่ กม. ๔๕ + ๖๐๐
เข้าไปยังเขื่อนอีกประมาณ ๑๒.๕ กิโลเมตร แม่น้ำปัตตานีมีต้นน้ำอยู่ในทิวเขา
สันกาลาคีรี ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย
ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ลำน้ำตลอดสายไหลขึ้นทางเหนือด้านจังหวัดยะลา
และไหลลงสู่อ่าวไทยในท้องที่ จังหวัดปัตตานี
เนื่องจากแม่น้ำปัตตานีมีความลาดเทในตอนต้นน้ำ ดังนั้นเวลาฝนตกน้ำจะะท่วมบริเวณ
อำเภอบันนังสตา ลงมาถึงจังหวัดยะลา เป็นประจำ เมื่อลำน้ำออกสู่ที่ราบซึ่งมีความลาดเทน้อยน้ำจะไหลช้าลง
และทำให้น้ำท่วมเสียหายแก่การเพาะปลูก
วิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้รัฐบาลได้ดำเนินการศึกษาสำรวจลุ่มน้ำปัตตานี
และจัดทำแผนพัฒนาลำน้ำปัตตานีโครงการก่อสร้าง ไฟฟ้าพลังนี้เขื่อนบางลางจึงได้เกิดขึ้นด้วยงบประมาณที่สูงมากเนื่องจากดำเนินการ
ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของโลกกำลังปั่นป่วน ราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว แต่เขื่อนบางลางก็สำเร็จลงได้เป็นแห่งแรกในภาคใต้
สร้างขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้มีมากมาย เช่น
ป้องกันน้ำท่วม เพราะเขื่อนสามารถกักเก็บน้ำได้เต็มที่
๑๕๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณเก็บกักดังกล่าว สามารถป้องกันน้ำท่วม บริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำปัตตานีเป็นอย่างดี
การผลิตกระแสไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำขนาดกำลังผลิต
๒๔๐๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๓ เครื่อง จะผลิตพลังไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ ๒๐๐
ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ส่งไปให้ประชาชนในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส
และจังหวัดอื่นในภาคใต้ ช่วยให้ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
การชลประทาน น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนบางลางเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจะสัมพันธ์
กับการจัดสรรน้ำเพื่อการชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูก ของจังหวัดยะลา และปัตตานี ๒ โครงการ
ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
การประมงน้ำจืด บริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนบางลางเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารของปลาและสัตว์น้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมประมงจึง ปล่อยปลาชนิดต่างๆ
ลงในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มอาชีพและรายได้แก่ราษฏรที่อาศัย ในบริเวณใกล้เคียงเขื่อน
สถานที่พักผ่อนและท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาปน้ำจืดขนาดใหญ่มีทิวทัศน์สวยงาม
เต็มไปด้วยป่าเขา ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด จึงเหมาะที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฏร ในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง
ความมั่นคงของประเทศ การก่อสร้างเขื่อนบางลางเป็นการสร้างงานขนาดใหญ่ช่วยให้คนมีงานทำทำให้ฐานะของราษฏรดีขึ้น
และการจัดสรรให้ราษฏรที่ถูกน้ำท่วมไปอยู่ในที่ทำกินใหม่ มีอาชีพรายได้ที่แน่นอน จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
นับว่าเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติได้เป็นอย่างดี
น้ำตกธารโต
อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ
ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว
1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง
มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา
หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
น้ำตกละอองรุ้ง
อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ
มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่
มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล
ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
หมู่บ้านซาไก
อยู่ที่หมู่ที่
3 ตำบลบ้านแหร
ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ
มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์
บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้
โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า
“ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล
ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
by Namfon Thongchuer
**********************************************************************