วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

หลักเมืองจังหวัดยะลา

หลักเมืองยะลา ปัจจุบันหลักเมืองยะลาเป็นศูนย์กลางเมืองยะลาอยู่ตรง  วงเวียนชั้นในสุด เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ เช่นศาลากลางจังหวัด ศาล สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียง และที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา บรรดาถนนทุกสายที่มาจากอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดจะมาร่วมกันที่หลักเมือง จากศาลากลางจังหวัดไปยังหลักเมืองประมาณ ๑๐ เมตร
สถานที่ตั้ง   หลักเมืองยะลา ตั้งอยู่บนถนนสุขยางค์ หน้าศาลากลางจังหวัดยะลา
ประวัติความเป็นมา
          
เดิมจังหวัดยะลามิได้อยู่ในที่ปัจจุบัน  ได้โยกย้ายสถานที่ตั้งถึง  ๔  ครั้ง  ครั้งแรกอยู่ที่ตำบลยะลอกูเบ (อยู่ระหว่างเขตอำเภอยะหากับอำเภอเมืองยะลา)  ครั้งที่  ๒  ย้ายตัวเมืองมาตั้งที่ตำบลท่าสาป  ริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี ครั้งที่  ๓ ย้ายไปตั้งที่ตำบลสะเตง ครั้งที่ ๔ ย้ายมาตั้งที่ตำบลบ้านนิบง อันเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน การที่ต้องย้ายที่ตั้งเมืองบ่อย  ๆทำให้ข้าราชการภายใต้การดำริของ  พ.ต.อ.ศิริ  คชหิรัญ  ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาขณะนั้น   และประชาชนชาวยะลาได้พร้อมใจกันก่อสร้างหลักเมืองขึ้นที่บริเวณศูนย์วงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด โดยเริ่มวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่  ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. เพื่อเป็นศิริมงคลแก่พี่น้องชาวยะลาจนถึงทุกวันนี้
หลักเมืองยะลาเป็นสถานที่สำคัญเพราะเป็นเสาหลักของจังหวัดยะลา    ทำให้เมืองนครยะลามีความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ต้องโยกย้ายสถานที่ไปที่ไหนอีกต่อไป  ประชาชนต่างก็ไปกราบไหว้บูชาหลักเมืองกันเป็นนิจ และทุกปีจะมีการจัดงานฉลองสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง มีการออกร้านของหน่วยราชการต่าง  ๆ  มีพ่อค้าประชาชนมาแสดงงานอาชีพมากมาย ตลอดจนมีมหรสพให้ชมกันตลอดทั้ง ๗ วัน ๗ คืน นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ - ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และยึดถือเป็นงานสมโภชประจำปีตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ปัจจุบันหลักเมืองยะลาเป็นศูนย์กลางเมืองยะลาอยู่ตรง  วงเวียนชั้นในสุด เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ เช่นศาลากลางจังหวัด ศาล สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียง และที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา บรรดาถนนทุกสายที่มาจากอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดจะมาร่วมกันที่หลักเมือง จากศาลากลางจังหวัดไปยังหลักเมืองประมาณ ๑๐ เมตรายภาพ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
          
เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ มีช่างจากกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบแกะสลักเสาหลักเมือง ลักษณะของเสาเป็นแท่งกลมต้นเสาวัดโดยรอบ ๑๐๕ เซนติเมตร ปลายเสา ๔๘ เซนติเมตร สูง ๑.๒๕ เมตร เสานี้วางอยู่บนฐานซึ่งมีลักษณะกลม  แกะสลักลวดลายแบบไทย   ลงรักปิดทองรอบฐานชั้นบน  และกลาง แกะสลักเป็นรูปนักรบโบราณถือโล่และดาบ กล่าวกันว่า(จากวิญญาณผู้มาเข้าทรง) เป็นวิญญาณของแม่ทัพคนหนึ่งของพระเจ้าตากสินมหาราช ยอดเสาหลักเมืองแกะเป็นรูปพระพรหม  มี ๔ หน้า ลงรักปิดทองทั้งองค์ตัวศาลหลักเมืองก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยหินขัดทั้งหลังเป็นรูปจตุรมุขหันหน้าไปตามทิศทั้ง ๔  มีบันไดขึ้นทั้ง  ๔  ทิศ  รูปลักษณ์ ๔ เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง หลังคามุงด้วยกระเบื้องสลับสี ตัวศาลากว้าง ๖  เมตร  ยาว  ๖ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร ตั้งอยู่บนเนินดินซึ่งถมปรับเป็นวงกลมรัศมีห่างจากตัวศาลโดยรอบ ๑๐  เมตร  สูงจากระดับถนน  ๑.๕๐  เมตร  มีถนนทางเข้า  ๔  ทิศ รอบ ๆ ตัวศาลจะมีสระน้ำและปลูกไม้ประดับดูร่มรื่น   

เสาหลักเมืองคู่กับเมืองยะลามาจนทุกวันนี้ก็ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  (รัชกาลที่  ๙)  ทรงพระสุหร่ายประพรมและทรงเจิม และพระราชทานแก่ พ.ต.อ.ศิริ คชหิรัญ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้ฤกษ์ประกอบพิธีฝังเสา และปักยอดหลักเมือง เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๒.๑๑ น.

ตรงข้ามกับหลักเมืองจะมีบ่อน้ำซึ่งมีปลาสามารถให้ผู้คนที่มาสักกระบูชากราบไหว้สามารถนำขนมปังหรืออาหารให้ปลากินได้อีกด้วยค่ะ



ในช่วงเกืยบๆเที่ยงก็มีผู้คนมาแวะเวียนกราบไหว้สักกระบูชาอยู่เรื่อยๆไม่ขาดสาย

                           

ในบริเวณศาลหลักเมืองมีการจัดสวนสวยงามเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีสวนหย่อมและสวนน้ำ ยามเช้า-เย็นจะมีผู้คนมากราบไหว้บนบานศาลกล่าว ขอในสิ่งที่ประสงต้องการ บ้างก็มาแก้บน บ้างก็มาให้อาหารปลา บ้างก็มาเดิน-วิ่งออกกำลังกาย

                                   





                                                                                        
                                                                     
                                                     BY..  FATEEMAY ... 

**********************************************************
   ภาพ: Namfon Thongchuer



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น