วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

Archaeological resources murals "Tham Sin" (แหล่งโบราณคดี จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์)

แหล่งโบราณคดี จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์

Archaeological resources murals "Tham Sin"



 "ถ้ำศิลป์" อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในภูเขาเดียวกันกับถ้ำพระนอน แต่ห่างจากถ้ำ พระนอนไปทางหัวเขาทิศใต้ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ถ้ำศิลป์อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข ๔๐๙ แยกเข้าถ้ำศิลป์ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร









 จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ หะยีวังกะจิได้พบถ้ำแห่งนี้และได้รายงานให้กำนัน ตำบลหน้าถ้ำทราบว่าในถ้ำมีเศษพระพุทธรูปกระจัดกระจายอยู่ เช่น นิ้วพระหัตถ์บ้าง ส่วนขององค์พระบ้าง หลังจากนั้นขุนศิลปกรรมพิเศษ ได้สำรวจและรายงานต่อ กรมศิลปากรว่า ภายในถ้ำมีดมีภาพเขียนสีอยู่ตามผนังถ้ำและได้พบอิฐปูน เกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้น บางส่วนดูออกว่าเป็นเส้นพระเกศาของพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ ประมาณว่าเท่ากับพระพุทธไสยาสน์ที่ถ้ำพระนอน ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พ.ท. หลวงรณสิทธิพิชัย อธิบดีกรมศิลปากร และนายมานิต วัลลิโภดม หัวหน้ากองโบราณคดีได้สำรวจถ้ำนี้อีกครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะของกรมศิลปากรอันมีนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร นายชิน อยู่ดี และเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง ได้สำรวจและจัดทำคำอธิบายภาพเหล่านี้ไว้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๑ นายเขียน ยิ้มศิริ นายจำรัส เกียรติก้อง และนายชิน อยู่ดี ได้รับทุนจากองค์การ ส.ป.อ. เพื่อค้นคว้าวิวัฒนาการของศิลปไทย จึงได้จัดการคัดลอกภาพเขียนสีไว้ พร้อมทั้งจัดทำแผนที่ แผนผัง และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์
ภาพที่เขียน เป็นภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง เป็นแถวเบื้องซ้ายและขวา มีสาวกหรือาจจะเป็นอุบาสกอุบาสิกานั่งประนมมืออยู่ พระพุทธเจ้าปางลีลาและมีรูปผู้หญิงยืนเป็นหมู่สามคน ส่วนสีที่เขียนเป็นสีดินเหลือง เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสีน้ำตาลและแดง เพื่อแยกน้ำหนักอ่อนแก่ ตัดเส้นด้วนสีดำ ส่วนสีเขียวปรากฏให้เห็นในภาพเป็นสิ่งที่เกิดขี้นภายหลังเนื่องจากปฏิกิริยาทาง เคมีของสารที่ผสมอยู่ในสี
ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ นักโบราณคดีได้ สัณนิษฐานว่า ภาพเขียนสีเหล่านี้เป็นฝีมือสกุลช่างท้องถิ่น ที่ไดรับอิทธิพลด้านรูปแบบของภาพโดยตรงจากอินเดีย พิจารณารูปแบบ และควรจะเป็นภาพเขียนสมัยศรีวิชัยตอนปลาย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐
ภาพเขียนสีทั้งหมดนี้ในปัจจุบันลบเลือนไปตามสภาพธรรมชาติ ซ้ำยังมีการเขียนต่อเติม มีการขูดขีดให้สูญหายไปเสียมาก พื้นถ้ำก็ถูกชาวบ้านขุดมูลค้างคาวไปเป็นปุ๋ย ก่อให้เกิดความเสียหายมาก


"Tham Sin" located in Moo 2, Tambon Na Tham Muang Yala mountain cave with the bed. But away from the cave. Lying to the south of the head, about 1.5 kilometers away from the cave art Yala on Highway 409 about 10 miles separate cave art.

Wang Chi Hadji 2468 when I found this cave and reported to Chief. District's cave in the cave with Buddha debris scattered as my finger. Part of the question. After finishing art special. The survey and report. Department that Inside the cave there are paintings on the cave walls were brick and cement. Scattered on the floor. Some see it as a line out of his hair at the Big Buddha is a reclining Buddha cave to sleep. Subsequently, in 2495 the Royal Bldg Pichai right equipment. Department of Fine Arts, and Mr. Manit Bhopal sniffing chief archaeologist Waldemar Lima explored this cave again, and in 2500 the Faculty of Fine Arts Department of the Tanith is Mr. Poe, Mr. Chin Yu Director of Fine Arts and a number of officials. Explored and documented explanation of these later in the year 2501 by Mr. Siri a smile shining glory echoes Mr. Yu and Mr. Shin received a grant to study the evolution of the art of organization S.p.a. Thailand. Have managed to copy the paintings. The preparation of maps, charts and photographs as evidence.
This is written as the Buddha subduing Mara. Buddha image sitting. The left and right in a row. There may be a follower or a raise worshipers sit on. Buddha posture and have a woman standing in groups of three. The color is a yellow ground color mainly consists of brown and red. To separate the light weight. Stripping the black stump. The green to be seen in the picture is what raged after the reaction. Chemical substances are mixed in color.
Professor of Arts and Master P Sri Siri a smile archaeologists have assumed that human visual New paintings are handmade from a local technician. Influenced the form of images directly from India. Consider the style. And should not be written at the end of Srivijaya. Century is around 19-20.
All paintings are currently oblivious to the natural conditions. I also had to write an addition. Is lost to waste a lot of scratching. The floor of the cave was home to dig guano as fertilizer. Cause much damage.




















By Namfon Thongchuer ^_^

ที่มาของภาพ : http://kanchanapisek.or.th




................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น