วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

WAT KUHAPIMUK TEMPLE (วัดคูหาภิมุข)


WAT KUHAPIMUK TEMPLE

     “วัดคูหาภิมุข” เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจากวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ “วัดหน้าถ้ำ” เป็น “วัดคูหาภิมุข”


     ตำบลหน้าถ้ำ ภาพพิกัดทางภูมิศาสตร์ของวัดคูหาภิมุขตำบลหน้าถ้ำ เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพุทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17 ยะลาเป็นชุมชนเกษตร นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉาย และภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข

Giant Statues


ยักษ์หน้าถ้ำที่คูหาภิมุข เป็นประติมากรรมแบบลอยตัว(round relief)

    หรือรูปปั้นที่ สามารถแลดูได้รอบทิศ ปรากฏพบอยู่ภายในอาณาบริเวณของวัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยรูปลักษณะเป็นยักษ์ในความเชื่อของคนท้องถิ่น กล่าวคือยักษ์ตนดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายคนป่าเผ่าซาไก ตัวดำผมหยิก ไว้หนวดเครารกรุงรัง มีเขี้ยวงอกออกมาพ้นริมฝีปาก นุ่งกางเกงหรือผ้าถุงสีแดงฉูดฉาดตา ยืนตัวตรง มือทั้งสองข้างจับไม้กระบองที่มีหัวกะโหลกมนุษย์เป็นด้ามท้ายแนบไว้กลางลำตัวอย่างทะมัดทะแมง มีงูบอง หรืองูบองหลา(งูจงอาง) เป็นสายสร้อยคล้องคอ 


      The reclining Buddha image is located near the inner wall wall of the cave and surrounded by a large number of stucco Buddha images of various sizes. It was believed to hac\ve been built in 757 A.D. in the Sri Vijaya period and measures 81.1 feet. The image is believed to have originally been the Reclining Visnu as apparent from the Naga's hood over his head, but was alterred into a Hinayana reclining Buddha

     พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สร้างขึ้นสมัยศรีวิชัยรุ่งเรืองราว พ.ศ.1300 หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว ประดิษฐานภายในถ้ำคูหาภิมุข เดิมชื่อ วัดหน้าถ้ำ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆ กับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก ปัจจุบัน รัฐบาลได้ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนทำหินอ่อนจำหน่าย หินอ่อนสีชมพูจากยะลามีความสวยงาม มีชื่อเสียงระดับประเทศ

     จากบันทึกของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการข้างต้นทำให้ทราบว่า พื้นที่จังหวัดยะลาบริเวณตำบลท่าสาป และตำบลหน้าถ้ำปัจจุบัน เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กัน และพัฒนาเรื่อยมาจนเข้าสู่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์






ภาพ: By Namfon Thongchuer ^_^


*********************************************************************








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น